รัชกาลทีงานส่งครู

หน้าแรก » งาน และ การศึกษา » การศึกษา อื่นๆ

รัชกาลทีงานส่งครู




  การปกครองในสมัยรัชกาลที่ ๕   ยุคการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาล (พ.ศ. 2437-2476)                 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน โดยได้ทรงยกเลิกตำแหน่งอัครมหาเสนาบดี 2 ตำแหน่ง คือ สมุหนายก และสมุหกลาโหม รวมทั้งจตุสดมภ์ด้วย ได้จัดระเบียบบริหารราชการออกเป็นกระทรวง ตามแบบอารยประเทศ และให้มีเสนาบดีเป็นผู้ว่าการแต่ละกระทรวง กระทรวงที่ตั้งขึ้นมีทั้งหมด 12 กระทรวง                 หลังจากจัดหน่วยบริหารส่วนกลาง โดยมีกระทรวงมหาดไทยในฐานะเป็นส่วนราชการที่เป็นศูนย์กลางอำนวยการปกครองประเทศและคุมหัวเมืองทั่วประเทศแล้วการจัดระเบียบการปกครองต่อมาก็จัดตั้งหน่วยราชการบริหารส่วนภูมิภาค ซึ่งมีสภาพและฐานะเป็นตัวแทนหรือหน่วยงานประจำท้องที่ของกระทรวงมหาดไทยขึ้น อันได้แก่ การจัดการปกครองแบบเทศาภิบาล ซึ่งถือได้ว่าเป็นระบบการปกครองอันสำคัญยิ่ง ที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงนำมาใช้ปรับปรุงระเบียบบริหารราชการแผ่นดินส่วนภูมิภาค ในสมัยนั้นการปกครองแบบเทศาภิบาล เป็นการปกครองส่วนภูมิภาคชนิดหนึ่ง ที่ส่วนกลางจัดส่งข้าราชการส่วนกลางออกไปบริหารราชการในท้องที่ต่างๆ โดยได้แบ่งการปกครองประเทศ เป็นขนาดลดหลั่นกันเป็นขั้นอันดับไป คือ เป็นมณฑล มีข้าหลวงเทศาภิบาลเป็นผู้ปกครองถัดจากมณฑล คือเมือง (สมัยรัชกาลที่ 6 เรียกว่าจังหวัด) มีเจ้าเมือง (ผู้ว่าราชการจังหวัด) เป็นผู้ปกครองเมืองแบ่งออกเป็นอำเภอ มีนายอำเภอเป็นผู้ปกครอง ทั้งสามส่วนนี้ปกครองโดยข้าราชการที่ได้รับแต่งตั้งจากกระทรวงมหาดไทย อำเภอนั้นแบ่งออกเป็นตำบล มีกำนัน ซึ่งเป็นผู้ที่ผู้ใหญ่บ้านเลือกเป็นผู้ปกครองตำบล แบ่งออกเป็นหมู่บ้าน มีผู้ใหญ่บ้านซึ่งได้รับการเลือกตั้งจากประชาชนในหมู่บ้านเป็นผู้ปกครอง                 ในปี พ.ศ. 2437 เป็นปีแรกที่ได้วางแผนงานจัดระเบียบการบริหารมณฑลแบบใหม่เสร็จ กระทรวงมหาดไทยได้จัดตั้งมณฑลเทศาภิบาลขึ้น 3 มณฑล คือ มณฑลปราจีนบุรี มณฑลนครราชสีมา มณฑลพิษณุโลก (เมืองที่อยู่ในมณฑลนี้ได้แก่ เมืองพิจิตร เมืองพิชัย เมืองสวรรคโลก) และทรงโปรดเกล้าฯ ให้โอนหัวเมืองทั้งปวงซึ่งเยขึ้นกับกระทรวงกลาโหมและกระทรวงต่างประเทศมาขึ้นอยู่กับกระทรวงมหาดไทย กระทรวงเดียว จึงได้รวมหัวเมืองจัดเป็นมณฑลราชบุรีขึ้นอีกมณฑลหนึ่ง                 พ.ศ. 2438 ได้รวมหัวเมืองจัดเป็นมณฑลขึ้นอีก 2 มณฑล คือ มณฑลนครชัยศรี มณฑลนครสวรรค์ และมณฑลกรุงเก่า และได้แก้ไขระเบียบการจัดมณฑลฝ่ายทะเลตะวันตก คือ ตั้งเป็นมณฑลภูเก็ต ให้เข้ารูปลักษณะของมณฑลเทศาภิบาลอีกมณฑลหนึ่ง                 พ.ศ. 2493  ได้รวมหัวเมืองมณฑลเทศาภิบาลขึ้นอีก 2 มณฑล คือ มณฑลนครศรีธรรมราชและมณฑลชุมพร                 พ.ศ. 2440 ได้รวมหัวเมืองมะลายูตะวันออกเป็นมณฑลไทรบุรี และในปีเดียวกันได้ตั้งมณฑลเพชรบูรณ์ขึ้นอีกมณฑลหนึ่ง                 พ.ศ. 2443 ได้เปลี่ยนแปลงสภาพของมณฑลเก่า ๆ ที่เหลืออยู่อีก 3 มณฑล คือ มณฑลพายัพ มณฑลอุดร และมณฑลอีสาน ให้เป็นมณฑลเทศาภิบาล                 พ.ศ. 2447  ยุบมณฑลเพชรบูรณ์ เพราะเห็นว่าสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย                 พ.ศ. 2449 จัดตั้งมณฑลปัตตานี และมณฑลจันทบุรี (มีเมืองจันทบุรี ระยอง และตราด)                 พ.ศ. 2450  ตั้งมณฑลเพชรบูรณ์ ขึ้นอีกครั้งหนึ่ง                 พ.ศ. 2455  ได้แยกมณฑลอีสานออกเป็น 2 มณฑล มีชื่อใหม่ว่า มณฑลอุบลและมณฑลร้อยเอ็ด                 พ.ศ. 2458 จัดตั้งมณฑลมหาราษฎร์ขึ้น โดยแยกออกจากมณฑลพายัพ                     ยุคสมบูรณาญาสิทธิราช
                ภายใต้ระบบดังกล่าว อำนาจรวมศูนย์อยู่ที่สถาบันพระมหากษัตริย์ แต่ภายหลังการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 ฐานทางการเมืองของสังคมไทยได้ขยายสู่ข้าราชการ เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2516 ฐานทางการเมืองของสังคมไทยได้ขยายมาครอบคลุมถึง พ่อค้านักธุรกิจ และผู้ปรพกอบวิชาชีพอิสระ เช่น ทนายความ นักหนังสือพิมพ์ ครู แพทย์โดยข้อเท็จจริงในประการนี้                    เราจะสังเกตได้จากองค์ประกอบขององค์การปกครองในระดับสูง ได้แก่ รัฐบาล คณะรัฐมนตรี และองค์กรที่มีหน้าที่กำหนดนโยบายของประเทศ เป็นต้น ซึ่งมีบุคคลจากกลุ่มอาชีพนอกระบบราชการเข้าเป็นสมาชิก เพิ่มมากขึ้นตามลำดับ
                หรืออาจสังเกตได้จากบัญญัติของรัฐธรรมนูญสิ่งเป็นกฏหมายสูงสุดของชาติ จะพบได้ว่ามีการให้อำนาจแก่สภาผู้แทนราษฎรมากขึ้น ยุคปฎิรูปการปกครอง                        การปฎิรูปการปกครองในสมัยร.5เริ่มครั้งแรกในวันที่16พฤศจิกายน 2416 เมื่อทรงมีพระบรมราชพิธีบรมราชาภิเษก ครั้งที่ 2 ทรงตั้งสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน และสภาปรึกษาในพระองค์ ทรงเริ่มการปฎิรูปอีกครั้งใน พ.ศ.2431
การปฎิรูปการปกครอง แบ่งได้เป็นด้านได้แก่
                -ด้านกฎหมายและการศาล ได้มีมาตรฐานตามแบบสากล เพื่อดำเนินการยกเลิกสนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรม
                -ด้านสังคม รัชกาลที่5 สร้างความเท่าเทียมให้เกิดขึ้นโดยยกเลิกระบบไพร่ เพราะเป็นระบบที่เอารัดเอาปรียบประชาชนส่วนใหญ่จึงทำให้ยกเลิกระบบนี้ส่งผลประชาชนมีอิสระในการประกอบอาชีพ การศึกษาเล่าเรียน มีการห้ามซื้อขายทาสอีก เป็นผลให้ทาสหมดไปจากสังคมไทย ยุคประชาธิปไตย
                การปกครองระบบประชาธิปไตยเริ่มเป็นที่รู้จักของคนไทยบางกลุ่มมาตั้งแต่สมัยร.4จากการที่พระองค์ทรงสนับสนุนเชื้อพระวงศ์และขุนนางชั้นสูงให้ได้รับการศึกษาจากประเทศตะวันตก จนได้รับอิทธิพลของแนวคิดและอารยธรรมตะวันตก และนำมาเผยแพร่ในเมืองไทย
                เมื่อถึงสมัยร.5จึงได้มีเชื้อพระวงศ์และขุนนางจำนวนหนึ่งที่ได้รับการศึกษาจากต่างประเทศร่วมกันยื่นบันทึกถวายความเห็นให้ประเทศไทยมีการปกครองแบบ ตะวันตก                แต่ก็ยังมีปัญหาความอึดอัดใจเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตที่ตกต่ำของคนอันเนื่องมาจากผลของการพัฒนาซึ่งทำให้ชีวิตของผู้คนแออัดยัดเยียดกันในกรุงเทพฯ ก็ดูเสมือนหนึ่งว่าเป็นคนค่าใช้จ่ายสำคัญๆ ที่เราต้องจ่ายให้กับความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะที่ผ่านมาซึ่งเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลง สรุป                     พัฒนาการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาประเทศเป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น แต่การพัฒนาประเทศประเทศนั้นเป็นเรื่องที่มีความสลับซับซ้อนอย่างยิ่ง แม้วัตถุประสงค์ที่สำคัญของการพัฒนาจะได้แก่การสร้งชาติ ให้มีความมั่นคง แข็งแรงและยั่งยืน และเมื่อพูดถึง การพัฒนาทุกคนจะคิดเป็นแนวทางเดียวกับหมดว่า เมื่อทุกคนอยู่กันดีแล้วปัญหาก็หมดไป ทุกคนคิดว่าเศรษฐกิจเท่านั้นที่จะนำพาไปสู่ความทันสมัยและทุกคนก็คิดว่าระบบการปกครองที่ประชาชนโดยทั่วไปมีความเสมอภาคเท่าเทียมกัน                  ดังนั้น อริสโตเติล ปราชญ์ชาวกรีกได้ตั้งข้อสังเกตว่าระบบประชาธิปไตย คือ ระบบการปกครองที่ประชาชนโดยทั่วไปมีความเสมอภาคเท่าเทียมกันและเคารพในศักดิ์ศรีของกันและกัน ถ้าระบบประชาธิปไตยขาดพื้นฐานข้างต้นแล้ว ก็ยากที่จะคงอยู่ด้วยความมั่นคงประชาธิปไตยจะเจริญงอกงามได้มากน้อยเพียงใด  ย่อมขึ้นอยู่กับความเสมอภาคเท่าเทียมกันตามสมควรระหว่างบุคคลในสังคมประมาณหนึ่งหรือความเสมอภาคเท่าเทียมกันกันระหว่างกลุ่มผลประโยชน์หรือกลุ่มอาชีพอีกประมาณหนึ่ง
                จึงอาจกล่าวได้ว่า เมื่อมีการเปลี่ยนมาใช้ระบบประชาธิปไตยแล้วก็ทำให้ประเทศสามารถพัฒนาไปสู่เส้นทางที่ดีขึ้นและเจริญก้าวหน้าขึ้นเพราะการพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงเป็นการพัฒนาไปที่เนในด้านที่ต้องการให้ประชาชนอยู่ดีมีความสุขจากผลของการที่ได้มีการพัฒนาเกิดขึ้นในประเทศ                                 ในสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 มีการเปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆมากมาย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการที่จะต่อสู้กับมหาอำนาจตะวันตกเนื่องด้วยในยุคนี้เป็นยุคของการล่าอาณานิคม โดยมีพระบรมราโชบาย ดังนี้
1. เดินทางสายกลาง เป็นการพัฒนาประเทศพร้อมทั้ง สร้างความสามัคคีในประเทศไปพร้อมๆกัน
2. ปรับปรุงประเทศให้สอดคล้องกับคติความเชื่อของตะวันตก และเป็นที่ยอมรับจากประเทศต่างๆ
3. สร้างความสัมพันธ์ใกล้ชิดระหว่างพระมหากษัตริย์กับประชาชนให้มากขึ้น ลดช่องว่างระหว่างชนชั้นลง มีการเสด็จเยี่ยมประชาชน และให้ประชาชนสามารถเข้าเฝ้าได้ การปฏิรูปประเทศในสมัยรัชกาลที่ 5 มีสาเหตุมาจาก การปฏิรูปในสมัยรัชกาลที่ 5 นั้นมีต้นเหตุมาจาก 3 ปัจจัยหลัก 1.1 การเมืองในประเทศ 1.2 ความมั่งคงในการรักษาดินแดนและเมืองขึ้น 1.3 ต้องการพัฒนาชาติให้มีความเจริญรุ่งเรืองทัดเทียบชาติตะวันตก คือ 1.1 การเมืองในประเทศในยุคของรัชกาลที่ 5 นั้น การปกครองได้แบกผู้คนเป็น 4 ชนชั้น 1. กษัตริย์ 2. ขุนนางหรือบางทีก็จะเรียกว่า มูลนาย 3. ไพล่ 4. ทาส โดยทาส นั้นจะอยู่หลายประเภท (เพื่อเป็นการประหยัดเวลา ผมจะไม่เข้ารายละเอียดของทาส หากสนใจและมีการร้องขอ ผมจะนำมาเล่าให้ฟังที่หลัง) ซึ่ง จะถูกปกครองโดย ไพล่ และ มูลนาย. ส่วนไพล่นั้นจะแบ่ง เป็น 3 ประเภท 1. ไพล่หลวง ไพล่ประเภทนี้จะขึ้นตรงต่อองค์พระมหากษัตริย์ 2. ไพล่สม ไพล่ประเภทนี้จะขึ้นตรงต่อเหล่าขุนนาง และสุดท้าย 3. ไพล่ส่วย ไพล่ประเภทนี้จะไม่ต้องขึ้นตรงต่อองค์พระกษัตริย์หรือขุนนางใดๆ แต่จะต้องเสียส่วยหรือภาษีให้กับองค์พระมหากษัตริย์หรือขุนนางใดๆ ซึ่งไพล่จำพวกนี้ส่วนใหญ่จะเป็นชาวจีนโดยมาก.

ผลผลิตจากเหล่าไพล่สมและทาสนั้นจะส่งตรงให้เหล่าขุนนาง. ประชาชนไม่สามารถค้าขายกับคนต่างชาติได้โดยตรง ต้องค้าขายผ่านเหล่าขุนนาง. ส่วนขุนนางจะตอบแทนเหล่าไพล่และทาสในสังกัดโดยการให้เบี้ยล้างพอประท้างชีวิต, ที่อยู่อาศัย, การรักษาโรคภัยไข้เจ็บ รวมถึงความปลอดภัย. จากนั้นเหล่าขุนนางอาจจะแบ่งผลผลิตที่ได้ให้กับหลวงหรือพระมหากษัตริย์อีกที.

การที่ทรัพยากรมนุษย์, ปัจจัยการผลิตรวมถึงผลผลิตอยู่ในมือของเหล่าขุนนางนั้น ทำให้เหล่าขุนนางนั้นมีอำนาจและบารมีอย่างเปิดเผยได้. ในขณะนั้นเอง สมเด็จเจ้าพระยา บรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุญนาค) ผู้มีบทบาทในการผลักดันให้ รัชกาลที่ 4 สามารถขึ้นครองราชย์ได้นั้นก็ได้คุมกำลังทางทหารและการต่างประเทศไว้อยู่ในมือ.การยกเลิกระบบไพล่และทาสนั้นเป็นเครื่องมืออันสำคัญในลดทอนอำนาจอิทธิพลและกำลังเงินของเหล่าขุนนางได้เป็นอย่างดีและรวมศูนย์ไว้อยู่ที


ราคา: ไม่ระบุต้องการ: รับจ้าง
ติดต่อ: แพทททอีเมล์: 
โทรศัพย์: IP Address: 124.120.235.2

คำค้น:  การปกครองท้องถิ่นไทย ยุคการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาล พศ 24372476 |



ดูสินค้าอื่นๆ | ลงประกาศ | เลื่อนประกาศขึ้น | ลบประกาศ | แก้ไขประกาศ

[ รับจำนอง ขายฝาก บ้าน ที่ดิน ทั่วประเทศ กู้เงินง่าย ได้เงินไว ไม่เช็คแบล็คลิส ]





ประกาศอื่นๆในหมวดหมู่เดียวกัน 20 รายการ (แสดงทั้งหมด)

รูป   รายละเอียด ราคา
  10,000 บาท
  0 บาท
  0 บาท
  0 บาท
  10,000 บาท
  6,700 บาท
  10,000 บาท
  10,000 บาท
  10,000 บาท
  10,000 บาท
  7,300 บาท
  450 บาท
  8,700 บาท
  10,000 บาท
  8,700 บาท
  8,700 บาท
  4,294,967,295
  150,000
  ไม่ระบุ
  ไม่ระบุ