พระขุนอินทประมูล Phra Krue Wat Khun Inthapramun Wat Khun Inthapramun วัดขุนอินทประมูล Situated at Tambon Inthapranum,Amphoe Pho Thong,accessed by 2 routes : from Angthong to Amphoe Pho Thong (Road No

หน้าแรก » พระเครื่อง ศิลปะ และ ของสะสม » พระเครื่อง

พระขุนอินทประมูล Phra Krue Wat Khun Inthapramun Wat Khun Inthapramun วัดขุนอินทประมูล Situated at Tambon Inthapranum,Amphoe Pho Thong,accessed by 2 routes : from Angthong to Amphoe Pho Thong (Road No




    ส.อ.กฤตพล แสงซื่อ 0814852202  สุภาพร โฉมศรี 0859220877  http://www.sanmongkol.bloggang.com/">www.sanmongkol.bloggang.com พระขุนอินทประมูล Phra Krue Wat Khun Inthapramun Wat Khun Inthapramun วัดขุนอินทประมูล Situated at Tambon Inthapranum,Amphoe Pho Thong,accessed by 2 routes : from Angthong to Amphoe Pho Thong (Road No 3064), turning right at Kilometer 9 and the temple is 2 kilometers from the intersection ; from Singburi to Amphoe Chaiyo turning left at Kilometers 8. The temple 4 kilometer from the intersection. This ancient temple was constructed during the Sukhothai period. Being observed from the ruined brick walls, the temple was rather large Within the temple the largest reclining Buddha image is enshrined, measuring 50 meters from the topknot to the feet. The image features and size are similar to those of Phranon Chaksi, a reclining Buddha image in Singburi Province. Therefore, it is assumed to have been constructed at the same period (early Ayutthaya period) of the one in Singburi and was named "Phra Simuangthong" enshrined on an earthen mound called "Khok Phranon". Formerly this reclining Buddha image was enshrined in a wihan but during the first fall of Ayutthaya, this temple was destroyed by fire and left deserted. Only the image was left in the open for hundreds of years. The image possesses attractive Buddha features with a serene smiling face attracting respectfulness and faithfulness from people. Many Thai kings went to pay homage to the image e.g., King Borommakot in 1753, King Rama 5 in 1878 and 1908. The present king came to present the royal Kathin robes in 1973 and again in 1975 to pay homage to the image. Buddhist from all over the country always comes to worship the image. In front of the reclining Buddha image is a monument which is said to be of Khun Inthapramun, a government duty collector who embezzled some of the government duty collector who embezzled some of the government tax for constructing the reclining Buddha image as an object of worship. When the King asked him how he obtained the fund to build the image, the man did not tell the truth because he was afraid that his merit from building the image would be gained by the King. He was finally sentenced by lashes to death. Still,many stories about Khun Inthapramun were told. วัดขุนอินทประมูล อยู่ในเขตตำบลอินทประมูล วัดนี้เป็นวัดโบราณ สร้างขึ้นในสมัยกรุงสุโขทัย พิจารณาจากซากอิฐแนวเขตเดิมคะเนว่าเป็นวัดขนาดใหญ่ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์ที่ใหญ่และยาวที่สุดในประเทศไทยมีความยาวถึง ๕๐ เมตร (๒๕ วา) เดิมประดิษฐานอยู่ในวิหารแต่ถูกไฟไหม้ปรักหักพังไปเหลือแต่องค์พระตากแดดตากฝนมานานนับเป็นร้อยๆ ปี องค์พระพุทธรูปมีลักษณะและขนาดใกล้เคียงกับพระนอนจักรสีห์ จังหวัดสิงห์บุรี สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยเดียวกัน องค์พระนอนมีพุทธลักษณะที่งดงาม พระพักตร์ยิ้มละไม สงบเยือกเย็นน่าเลื่อมใสศรัทธายิ่งนัก พระมหากษัตริย์ไทยหลายพระองค์ได้เคยเสด็จมาสักการะบูชา อาทิเช่น พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เสด็จมาเมื่อ พ.ศ. ๒๒๙๖ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จฯในปีพ.ศ. ๒๔๒๑ และ ๒๔๕๑ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันเสด็จฯ มาถวายผ้าพระกฐินต้นในปี พ.ศ.๒๕๑๖ และเสด็จมานมัสการอีกครั้งในปีพ.ศ. ๒๕๑๘ พุทธศาสนิกชนทั่วประเทศต่างนิยมมานมัสการเป็นเนืองนิจ นอกจากนี้ภายในบริเวณวัดขุนอินทประมูลยังมีโบราณสถานวิหารหลวงพ่อขาว ซึ่งเหลือเพียงฐาน ผนังบางส่วนและองค์พระพุทธรูป ด้านหน้าพระนอนมีศาลรูปปั้นขุนอินทประมูล ซึ่งตามประวัติเล่ากันว่า เป็นนายอากรผู้สร้างพระพุทธไสยาสน์ โดยยักยอกเอาเงินของหลวงมาสร้างเพื่อเป็นปูชนียสถาน ครั้นพระมหากษัตริย์ทรงทราบรับสั่งถามว่าเอาเงินที่ไหนมาสร้าง ขุนอินทประมูลไม่ยอมบอกความจริงเพราะกลัวส่วนกุศลจะตกไปถึงองค์พระมหากษัตริย์จึงถูกเฆี่ยนจนตาย วัดนี้จึงได้ชื่อว่า “วัดขุนอินทประมูล” การเดินทางไปสามารถใช้เส้นทางได้ ๓ สายคือ สายอ่างทอง-อำเภอโพธิ์ทอง (เส้นทาง ๓๐๖๔) แยกขวาที่กิโลเมตร ๙ เข้าไปอีกประมาณ ๒ กิโลเมตร หรือใช้เส้นทางจากจังหวัดสิงห์บุรีไปทางอำเภอไชโยประมาณกิโลเมตรที่ ๘ จะมีทางแยกซ้ายมือเข้าถึงวัดเป็นระยะทาง ๔ กิโลเมตร หรือใช้เส้นทางตัดใหม่สายอำเภอวิเศษชัยชาญ-โพธิ์ทอง (ถนนเลียบคลองชลประทาน) เมื่อถึงอำเภอโพธิ์ทองมีทางแยกเข้าวัดอีก ๒ กิโลเมตร เป็นพระนอนที่ยาวที่สุดในประเทศไทย มีความเก่าแก่หลายร้อยปี ประดิษฐานอยู่กลางแจ้ง เพราะโบสถ์ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระนอนนั้นพังทลายไป พระพักตร์พระพุทธรูปมีลักษณะงาม พระ มหากษัตริย์ทั้งสมัยอยุธยาและกรุงรัตนโกสินทร์เคยเสด็จมานมัสการพระนอนที่วัดหลายครั้ง นับเป็นพระนอนที่สำคัญและศักดิ์สิทธิ์ของ จ. อ่างทอง คู่กับพระนอนที่วัดพระนอนจักรสีห์ จ. สิงห์บุรี ที่ตั้ง ต. อินทประมูล อ. โพธิ์ทอง จ. อ่างทอง ห่างจากตัวอำเภอประมาณ 2 กม. ประวัติ พระนอนวัดขุนอินทประมูลสร้างขึ้นเมื่อใดไม่ปรากฏ หลักฐานแน่ชัด มีเพียงตำนานซึ่งก็มีหลายสำนวน สำนวนหนึ่งกล่าวถึงพระยาเลอไทย เสด็จพระราชดำเนินจากสุโขทัยทางชลมารค เพื่อมานมัสการพระฤษีสุกกะทันตะ ณ เขาสมอคอน กรุงละโว้ ทรงพักแรมอยู่ ณ เขาสมอคอน 5 เพลา จากนั้นได้เสด็จผ่านแม่น้ำเจ้าพระยาล่องไปตามแม่น้ำน้อย ผ่านคลองบางพลับ ขณะประทับแรมที่บ้านโคกบางพลับ เกิดศุภนิมิตทอดพระเนตรเห็นลูกไฟดวงใหญ่ลอยขึ้นเหนือยอดไม้แล้วหายไปทางตะวันออก พระองค์ทรงปีติโสมนัสจึงสร้างพระนอนเป็นพุทธบูชา ขนาดยาว 20 ม. สูง 5 วา ใช้เวลา 5 เดือนจึงสร้างเสร็จในปี พ.ศ. 1870 แล้วขนานนามว่า พระพุทธไสยาสน์เลอไทยนฤมิต ทรงมอบหมายให้นายบ้านเป็นผู้ดูแล และทรงแต่งตั้งทาสวัดห้าคน จากนั้นจึงเสด็จกลับสุโขทัยซึ่งสอดคล้องกับข้อสันนิษฐานของนักประวัติศาสตร์ศิลปะบางท่านว่า พระนอนอาจสร้างในสมัยสุโขทัยก็เป็นไปได้ เพราะมีพุทธลักษณะแบบสุโขทัย องค์พระนอนขาดการบำรุงรักษา จนกระทั่งถึงสมัยอยุธยามีพระภิกษุเข้าไปตั้งสำนักสงฆ์ใช้เป็นที่วิปัสสนากรรมฐาน ต่อมาประมาณปี พ.ศ. 2279 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศเสด็จมานมัสการพระนอนที่วัดนี้ และสันนิษฐานว่าพระองค์โปรดเกล้าฯ ให้บูรณะพระนอนและศาสนสถานในวัดด้วย อีกสำนวนหนึ่งว่า ขุนอินทประมูลซึ่งเป็นนายอากรเก็บภาษีเข้าแผ่นดินเป็นผู้สร้างขึ้น ตามอย่างสิงหพาหุผู้สร้างพระนอนที่ จ. สิงห์บุรี แต่เงินที่ขุนอินทประมูลนำมาสร้างพระนอนนั้นเป็นเงินภาษี ของรัฐ จึงถูกทางการลงโทษเฆี่ยนจนตาย เมื่อประมาณปี2539ต่อ2540ที่ผ่านมาพระนอนองค์ใหญ่ได้พังลงระหว่างกลางองค์พระซึ้งลักษณะรูปแบบการพังแบบนี้มีข้อสังเกตุอยู่บางประการทำไมถึงพังเฉพาะช่วงเอวของพระซึ่งถ้าดินทรุดก็ไม่น่าจะทรุดเพียงจุดเดียวก่อนหน้านั้นในระหว่างที่พบโครงกระดูกจริงของขุนอินทประมูลนั้นผมได้ทราบจากกรรมการวัดว่าทางวัดได้มีการแจ้งไปยังกรมศิลป์แต่ไม่มีผู้ใดให้การสนใจประจวบเหมาะกับเป็นช่วงฝนตกชุกจนทำให้โครงกระดูกที่แท่จริงเสียหายยับเยินโครกระดูกที่เห็นในโลงแก้วนั้นเป็นเพียงการจำลองขนาดมาเท่านั้นส่วนโครงจริงเป็นเพียงซ้ากหน้าเศร้าที่ประวัฒิของวัดดีๆและของบุคคลซึ่งหน้าศึกษาต้องหายและหาช่วงต่อมิได้ไปอีกวัดหนึ่งแต่ถึงกระนั้นผมก็ยังดั้นด้นไปค้นหากรรมการวัดบางทั้นเพื่อให้ความกระจ่างแก่ผมต่ออีกเพราะการหักหรือพังลงของพระนอนถ้าหักโดยธรรมชาติแล้วต้องพังลงข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งองค์จะไม่พังแต่เพียงจุดเดียวหรือมีผู้ใดมาทำการใดๆแก่พระนอนหรือสาธุๆฝากทุกท่านช่วยไปคิดดูเน้อถ้าพวกเราไม่ช่วยกันดูแล้วลูกๆหลานๆจะเหลืออะไรไว้ให้จดจำเหมือนรุ่นปู่รุ่นย่าได้ทำไว้ให้เราแม้ว่าเดี่ยวนี้กรมศิลได้ให้ทุนสนับสนุนมาบูรณะวัดแล้วก็ตามผมก็ยังหาคำตอบไม่ได้ซักที่ว่าทำไมปล่อยเอาจนป่านี้เศร้าผมยังคงหาข้อมูลของการหักพังและประวัฒิของวัดเพิ่มเติมท่านใดที่มีความรู้หรือรู้ประวัฒิของวัดนี้เพิ่มอีกกรุณาติดต่อหาผมเพื่อหาข้อมูลเพิ่มเดิมจะเป็นพระ  


   


ราคา: ไม่ระบุต้องการ: ขาย
ติดต่อ: 0814852202อีเมล์: 
โทรศัพย์: 0814852202IP Address: 203.113.17.148
มือถือ: 0814852202 จังหวัด: กรุงเทพมหานคร

คำค้น:  โบสถ์ วัดขุนอินทประมูล ที่นอน | พระหลวงพ่อพระใสm6di6jo | วัดขุนอินทประมูล | สมเด็จวัดขุนอิน | พระกรุขุนอินประมูล | พระกรุขุนอินทร์ | พระสมเด็จวัดขุนอินทร์ | พระกรุวัดขุนอินทประมูล | ตรวจสอบราคาพระกรุวัดขุนอินทรประมูล | พระสมเด็จกรุวัดขุนอินทประมูล ราคา |



ดูสินค้าอื่นๆ | ลงประกาศ | เลื่อนประกาศขึ้น | ลบประกาศ | แก้ไขประกาศ

[ รับจำนอง ขายฝาก บ้าน ที่ดิน ทั่วประเทศ กู้เงินง่าย ได้เงินไว ไม่เช็คแบล็คลิส ]





ประกาศอื่นๆในหมวดหมู่เดียวกัน 20 รายการ (แสดงทั้งหมด)

รูป   รายละเอียด ราคา
  1,000 บาท
  2,600 บาท
  1000-2700
  700 บาท
  359 บาท
  -
  -
  290 บาท
  359 บาท
  380 บาท
  1,400 บาท
 
  2,200 บาท
  1,500 บาท
  2,050 บาท
  2,500 บาท
  6,000 บาท
  9x,xxx.-
  8 บาท
  1,500 บาท