ความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการลงทุนในตราสารหนี้

หน้าแรก » ธุรกิจ และ อุตสาหกรรม » ธุรกิจ และ อุตสาหกรรม อื่นๆ

ความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการลงทุนในตราสารหนี้





ตราสารหนี้ ตราสารหนี้ที่ออกจำหน่ายในประเทศไทยแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่ 1. ตราสารหนี้ภาครัฐ 2.ตราสารหนี้ภาคเอกชน
โดยตราสารหนี้ภาครัฐ ประกอบด้วยพันธบัตรรัฐบาลและพันธบัตรรัฐวิสาหกิจ ซึ่งปัจจุบันมีมูลค่ารวมประมาณร้อยละ 85 ของตลาดตราสารหนี้ในประเทศไทย
1. พันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรรัฐบาลเป็นตราสารหนี้ระยะกลางถึงระยะยาวที่ออกโดยกระทรวงการคลัง มีทั้งหมดสามประเภท ได้แก่ พันธบัตรเพื่อการลงทุน พันธบัตรเพื่อการกู้ยืม และพันธบัตรออมทรัพย์ ตั้งแต่ปี 2534 เป็นต้นมาไม่มีการออกพันธบัตรเพื่อการลงทุนอีก พันธบัตรในตลาดส่วนใหญ่จะเป็นพันธบัตรเพื่อการกู้ยืม ซึ่งออกมาเพื่อแก้ไขภาวะขาดดุลงบประมาณการเงิน ส่วนพันธบัตรออมทรัพย์นั้นเพื่อให้ประชาชนมีทางเลือกในการออมทรัพย์เพิ่มขึ้นอีกทางหนึ่ง
2. พันธบัตรรัฐวิสาหกิจ (SOE) พันธบัตรรัฐวิสาหกิจเป็นตราสารหนี้ระยะกลางถึงระยะยาวที่ออกโดยรัฐวิสาหกิจ ส่วนใหญ่จะได้รับการค้ำประกันโดยกระทรวงการคลัง ผลตอบแทนของพันธบัตรจะขึ้นอยู่กับอัตราดอกเบี้ยของตลาดเงินในขณะนั้น ระดับความเสี่ยง และระยะเวลาครบกำหนดไถ่ถอน โดยปกติ พันธบัตรที่มีอายุคงเหลือยาวจะให้ผลตอบแทนสูงกว่าพันธบัตรรุ่นที่มีอายุคงเหลือสั้น และพันธบัตรรัฐวิสาหกิจที่กระทรวงการคลังไม่ค้ำประกันจะมีผลตอบแทนสูงกว่าพันธบัตรที่กระทรวงการคลังค้ำประกันและพันธบัตรรัฐบาล
ตราสารหนี้ภาคเอกชน การออกหุ้นกู้ค่อนข้างจะเป็นที่นิยมกันมาก และมักจะขายหมดภายในเวลาไม่กี่วัน หุ้นกู้ซึ่งธนาคารกรุงเทพเป็นผู้จัดจำหน่าย ได้แก่ หุ้นกู้ของบริษัท ผลิตไฟฟ้าขนอม จำกัด (KEGCO) บริษัท ปูนซีเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) (SCC) บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) (CPF) และ บริษัท วีนิไทย จำกัด (มหาชน) (VNT)
เนื่องจากผู้ที่กู้เงินผ่านตลาดซื้อขายตราสารหนี้ คือบริษัท มิใช่ธนาคาร ดังนั้น ความมั่นคงของเงินกู้จำนวนนั้นจึงขึ้นอยู่กับความมั่งคงของบริษัท โดยไม่มีการประกันทั้งจากธนาคารและรัฐบาล ดังนั้น นักลงทุนจะพบว่าหุ้นกู้มีข้อได้เปรียบพันธบัตรรัฐบาลตรงที่มีอัตราดอกเบี้ยสูงกว่า เนื่องจากมีความเสี่ยงมากกว่า
การลงทุนขั้นต่ำสุดในหุ้นกู้สำหรับนักลงทุนที่เป็นบุคคล ขึ้นอยู่กับว่าเป็นการเสนอขายแก่ประชาชน (Public Offering - P/O) หรือเป็นการเสนอขายแก่บุคคลในวงจำกัด (Private Placement - P/P) หุ้นกู้ที่เสนอขายแก่ประชาชน ท่านสามารถซื้อได้ตั้งแต่หนึ่งหน่วยขึ้นไป (โดยราคาที่ตราต่อหน่วยอาจเป็น 1,000 บาท 10,000 บาท หรือขึ้นอยู่กับข้อกำหนดของผู้ออกหุ้นกู้) ส่วนการเสนอขายแก่บุคคลในวงจำกัด ต้องซื้อขั้นต่ำ 10 ล้านบาท หรือ 10,000 หน่วย บริษัทต่าง ๆ เริ่มออกตราสารหนี้ในปี 2535 หลังจากมีการตราพระราชบัญญัติคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) ซึ่งได้เปลี่ยนแปลงเงื่อนไขให้การออกหุ้นกู้ทำได้ง่ายขึ้น
ประเภทของตราสารหนี้ที่ออกจำหน่าย เงื่อนไขในการออกหุ้นกู้มีหลายลักษณะ เช่น แบบดอกเบี้ยคงที่ (Straight Fixed) แบบอัตราลอยตัว (FRN) แบบทยอยคืนเงินต้น (Amortizing) และแบบแปลงสภาพได้ (Convertible) สำหรับการเสนอขายในตลาดนั้น ผู้ออกสามารถทำได้ด้วยการเสนอขายให้แก่ประชาชนทั่วไปหรือเสนอขายแก่บุคคลในวงจำกัด โดยผู้ออกตราสารหนี้จะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขของ กลต. และต้องได้รับการอนุมัติจาก กลต. ก่อนทำการเสนอขาย ส่วนการออกจำหน่ายโดยเสนอขายแบบเฉพาะเจาะจงนั้นจะทำได้โดยตรง โดยสามารถขายให้กับนักลงทุนได้ไม่เกิน 35 คน หรือเสนอขายให้กับผู้ลงทุนที่เป็นสถาบันตามที่ กลต. กำหนดไว้ 17 ประเภท
การเสนอขายหุ้นกู้นั้นต้องมีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ ซึ่งหมายถึงความสามารถในการชำระหนี้ของผู้ออก ยกเว้นกรณีการออกหุ้นกู้ในจำนวนไม่เกิน 100 ล้านบาท หรือการออกตราสารหนี้ที่จำกัดนักลงทุนจำนวนไม่เกิน 10 คน ไม่จำเป็นต้องมีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ
หากท่านต้องการลงทุนในตราสารหนี้ ควรจะถามตัวเองก่อนว่า "พร้อมที่จะรับความเสี่ยงจากการลงทุนได้มากน้อยแค่ไหน?" ถ้าคำตอบคือน้อยมาก ท่านควรที่จะลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล แต่หากท่านพร้อมที่จะเสี่ยงเพื่อผลตอบแทนที่สูงกว่า การลงทุนในหุ้นกู้ของบริษัทที่อยู่ในอันดับต้น ๆ ก็ย่อมเหมาะสมกว่า
ความเสี่ยงจากตราสารหนี้ อย่างที่บอกไว้แต่ต้น ว่าตราสารหนี้ก็ถือเป็นการลงทุนอย่างหนึ่ง ดังนั้นแล้วก็ย่อมมีความเสี่ยงติดมาด้วย เช่นเราต้องการผลตอบแทนที่มากขึ้น ก็ย่อมต้องรับความเสี่ยงมากขึ้นเป็นธรรมดา ดังความจริงที่ว่า "ของฟรีไม่มีในโลก" เราสามารถสรุปความเสี่ยงจากการลงทุนในตราสารหนี้ได้ดังต่อไปนี้:
1) ความเสี่ยงจากความมั่นคงของผู้ออกตราสาร อันนี้เป็นอย่างแรกที่นักลงทุนเราต้องพิจารณาเลยเป็นอันดับแรก เปรียบเหมือนกับการที่เราให้คนอื่นกู้ยืมเงิน ก็ต้องดูก่อนว่าผู้ที่กู้เงินเราไปนั้นสามารถใช้หนี้เราได้หรือไม่ ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย หากผู้ออกตราสารเอง มีฐานะทางธุรกิจและการเงินไม่ดีแล้ว อาจจะเกิดการ "ชัดดาบ" หรือประเภทที่เรียกว่า ไม่มี ไม่หนี ไม่จ่าย ก็ได้ครับ แต่เรื่องของการชักดาบนี้ คงไม่เกิดขึ้นกับพันธบัตร เพราะรัฐบาลคงไม่ยอมเสียเครดิตเป็นแน่แท้ หากถึงคราวอับจนขึ้นมา รัฐอาจใช้สารพัดวิธีเช่น เก็บภาษีมากขึ้น หรือแม้กระทั่งออกพันธบัตรชุดใหม่เพื่อนำมาใช้หนีเดิมก่อน หรืออาจจะพูดได้ว่า ความเสี่ยงด้านความมั่นคงกับรัฐบาลคงไม่มีประเด็น
2) ความเสี่ยงจากอัตราดอกเบี้ย อันนี้พูดถึงอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก หรือแม้กระทั่งอัตราดอกเบี้ยของตราสารหนี้รุ่นที่ใหม่กว่า ตัวอย่างเช่นหากคุณถือตราสารหนี้ราคาหน้าตั๋ว (เรียก Face Value) 100,000 บาทที่ให้ผลตอบแทน (Coupon Rate) 4.5% ต่อปีแต่อัตราดอกเบี้ยของเงินฝากธนาคารค่อยๆ ปรับตัวขึ้นเรื่อยๆ จาก 4% เป็น 4.5% แล้วเลยเถิดขึ้นไปเป็น 6% ต่อปี เมื่อเป็นดังนี้แล้ว หากคุณต้องการขายตราสารหนี้นั้นออกไปก่อนครบกำหนดไถ่ถอน ผู้ซื้อก็จำต้องกดราคาลงมาต่ำกว่า 100,000 บาทนั้น เพื่อให้ได้ผลตอบแทนรวมเดียวกับอัตราดอกเบี้ย 6% (เพราะตราสารนั้น ก็ยังคงจ่ายดอกเบี้ย 4.5% เมื่อเทียบกับเงินต้น คือเป็นจำนวน 4,500 บาทต่อปีอยู่)
3) ความเสี่ยงจากสภาพคล่อง อย่างไรเสียตราสารหนี้นั้นก็ไม่ใช่เงินสด และไม่ใช่ตราสารทุนประเภทหุ้นสามัญ ดังนั้นแล้วหากผู้ถือต้องการเปลี่ยนเป็นเงินสดโดยทันที อาจจะไม่ใช่เรื่องง่ายนัก ในตลาดรอง ผู้ที่ต้องการซื้อ ก็อาจจะเสนอซื้อด้วยราคาที่ต่ำมาก (เพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่สูง) และผู้ที่ขายก็ต้องการขายด้ายราคาที่สูง (แต่คนที่ซื้อก็จะได้ผลตอบแทนที่ต่ำ) ดังนั้นการซื้อขายมักจะเป็นไปได้ยาก เพราะตกลงเรื่องของราคาไม่ได้นี้เอง
การพิจารณาซื้อตราสารหนี้ สิ่งต่อไปนี้เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องพิจารณาหากเราต้องการลงทุนในตราสารหนี้: 1) ดูจากการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ ปัจจุบันในประเทศไทย มีสองสถาบันที่ได้รับการยอมรับจาก กลต. ให้จัดอันดับความน่าเชื่อถือของบริษัทที่ออกหุ้นกู้ (ก็ความสามารถในการใช้หนี้และเงินต้นคืนได้ครบถ้วนตามเงื่อนไขนั่นแหละ) คือ บริษัท ไทยเรทติ้ง แอนด์ อินฟอร์เมชั่น เซอร์วิส จำกัด (เรียกว่า "ทริส") และ บริษัท ฟิทช์ เรทติ้ง (ประเทศไทย) จำกัด (เรียกว่า "ฟิทช์") ซึ่งทั้งสองบริษัทนี้จะมีตัวอักษรแสดงอันดับความน่าเชื่อถือแตกต่างกันเล็กน้อย แต่โดยทั่วไปแล้วสามารถเรียงได้จาก AAA, AA, A, BBB เป็นต้น โดยหากอันดับความน่าเชื่อถือต่ำกว่า BBB แล้วก็ไม่น่าลงทุนนัก เพราะเริ่มมีความเสี่ยงที่สูงมากขึ้น
2) เงื่อนไขพิเศษบางประการของหุ้นกู้ ตราสารหนี้ประเภทหุ้นกู้บางตัว มีการกำหนดเงื่อนไขพิเศษเอาไว้ให้ผู้ออก (ผู้กู้) สามารถไถ่ถอนคืนก่อนกำหนดได้ (เรียกว่า Callable Bond) หุ้นกู้ประเภทนี้จะมีความเสี่ยงสูงต่อนักลงทุนมากกว่า เพราะเมื่ออัตราดอกเบี้ยเงินกู้ในตลาดสูง ผู้กู้ก็ออกหุ้นกู้ด้วยอัตราผลตอบแทน (ดอกเบี้ย - Counpon Rate) ที่สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก แต่ต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เพื่อระดมทุนในการทำกิจการ ต่อมาเมื่ออัตราดอกเบี้ยในตลาดต่ำลง ผู้ออกหุ้นกู้ก็ไถ่ถอนคืนโดยอาจจะนำเงินมาจากการกู้ธนาคารพาณิชย์ที่มีดอกเบี้ยที่ต่ำลง เมื่อเป็นดังนี้แล้ว นักลงทุนจะมีความเสี่ยงสูงขึ้นเมื่ออัตราดอกเบี้ยลดต่ำลง เพราะเมื่อผู้กู้ขอไถ่ถอนหุ้นกู้คืนแล้ว นักลงทุนก็ไม่รู้จะนำเงินต้นที่ได้ไปลงทุนเพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่สูงได้ง่ายนัก
3) หุ้นกู้แปลงสภาพ (Convertible Bond) หุ้นกู้ประเภทนี้จะมีการกำหนดให้สิทธิไว้ว่า ผู้ถือสามารถเลือกที่จะแปลงสภาพจากหุ้นกู้ (ผู้ออกมีสภาพเป็นลูก "หนี้") ไปเป็นหุ้นสามัญ (กลายเป็น "ทุน" ส่วนหนึ่งของบริษัท) ซึ่งมีทั้งข้อดีต่อบริษัทผู้ออกและผู้ถือหุ้นกู้นั้น แต่เป็นผลเสียต่อผู้ถือหุ้นเดิม กล่าวคือเมื่อเกิดการแปลงสภาพ ภาระหนี้สินของบริษัทหรือผู้ออกก็จะลดน้อยลง ในขณะที่ผู้ถือหุ้นกู้อาจจะสามารถขายหุ้นสามัญที่แปลงสภาพแล้วนั้นที่ราคาตลาดที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่าผลตอบแทนทางดอกเบี้ยโดยรวม (หากเลือกที่จะถือหุ้นกู้นั้นต่อไป แทนที่จะแปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญแล้วขายในตลาด) แต่ผู้ถือหุ้นเดิมจะได้รับผลกระทบทางลบเนื่องจากมีปริมาณหุ้นสามัญเพิ่มขึ้น (Dilution Effect)
4) การลงทุนในกองทุนรวมตราสารหนี้ หากนักลงทุนไม่มีความชำนาญเรื่องของการติดตามสภาวะเศรษฐกิจต่างๆ รวมทั้งอัตราผลตอบแทนของหุ้นกู้แต่ละตัวแล้ว ก็สามารถลงทุนผ่านกองทุนรวมที่เน้นในการลงทุนกับตราสารหนี้ก็ได้ ซึ่งจะได้ผลตอบแทนที่ดีในระดับหนึ่ง
http://bonds-debenture.blogspot.com/2008/08/blog-post.html">ธนโชติ อินต๊ะเทพ Tel: http://bonds-debenture.blogspot.com/2008/08/blog-post.html">0836069948
Mail: http://bonds-debenture.blogspot.com/2008/08/blog-post.html">[email protected] http://bonds-debenture.blogspot.com/2008/08/blog-post.html">บทความ : ความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการลงทุนในตราสารหนี้


ราคา: 1,000ต้องการ: ขาย
ติดต่อ: ธนโชติอีเมล์: 
โทรศัพย์: 0836069948IP Address: 124.120.4.124
มือถือ: 0836069948 จังหวัด: กรุงเทพมหานคร



ดูสินค้าอื่นๆ | ลงประกาศ | เลื่อนประกาศขึ้น | ลบประกาศ | แก้ไขประกาศ

[ รับจำนอง ขายฝาก บ้าน ที่ดิน ทั่วประเทศ กู้เงินง่าย ได้เงินไว ไม่เช็คแบล็คลิส ]





ประกาศอื่นๆในหมวดหมู่เดียวกัน 20 รายการ (แสดงทั้งหมด)

รูป   รายละเอียด ราคา
  2,390 บาท
  70,000
  9,999 บาท
  9,999 บาท
  2,480 บาท
  5,990 บาท
  690,000 บาท
  2,990 บาท
  4,480 บาท
  5,990 บาท
  100 บาท
  5,990 บาท
  2,480 บาท
  4,480 บาท
  2,480 บาท
  2,480 บาท
  4,480 บาท
  1,700,000 บาท
 
  5,990 บาท