พระสมเด็จวัดระฆังฯ พิมพ์ฐานแซม พร้อมเกียรติบัตรรับรอง

หน้าแรก » พระเครื่อง ศิลปะ และ ของสะสม » พระเครื่อง

พระสมเด็จวัดระฆังฯ พิมพ์ฐานแซม พร้อมเกียรติบัตรรับรอง




- หลักการดู สมเด็จวัดระฆัง 4ย 4ห 4น 4ม 4จ
หลักการศึกษา พระสมเด้จวัดระฆัง ในการตรวจสอบ
โดยยึดหลักทางวิทยาศาสตร์ และ ความเป็นธรรมชาติซึ่งเป็นหลักการศึกษา
เบื้องต้น ก่อนการศึกษาพิมพ์ทรง
เมื่อเราได้รับพระสมเด็จ มาให้ศึกษา สิ่งแรก ที่ต้อง
ศึกษา ก็คือ การยึดหลัก 4 ย
1. ยแรก คุณสมบัติเบื้องต้นต้องมี เนื้อยุบ ให้เห็น
การยุบตัว ของเนื้อพระสมเด็จ อาจจะเป็น เพราะ เมื่ออายุนาน100 กว่าปี
สารอินทรีย์ ที่ผสมอยู่ในเนื้อพระมีการสลายตามธรรมชาติ ย่อมมีการยุบตัวลงไปเนื้อพระ หรือ มี ก้อนผงพุทธคุณ มีการหดตัวเล็กลง ก็เกิดการ
ยุบตัวได้เหมือนกัน

2. ย สอง ลักษณะของผิวพระ ให้เห็นการปริแยก ชัดเจน
แบบธรรมชาติ
ส่วนใหญ่ รอยปริแยก จะมีให้เห็น บริเวณด้านหลัง พระ
ยิ่งใกล้ บริเวณ ขอบของพระสมเด็จ บริเวณเส้นซุ้ม
หรือ ตาม วงแขน หรือด้านหน้า ตาม ขอบของพระสมเด็จ
จะนำเสนอภาพให้ชม ต่อไป


3. ย สาม พื้นผิวพรสมเด็จ มี ลักษณะเป็นรอยย่น แบบหนังไก่
หรือ ฟูๆๆ ผิวลักษณะนี้ จะมีการเกิดปฎิกิริยาตามธรรมชาติ
เนื้อพระสมเด็จ ค่อนข้างละเอียด และ เปียกขณะสร้าง และ มีการหดตัว และ
แห้งไม่สม่ำเสมอ บางองค์ จะมีลักษณะ รอยย่นฟูมาก จนทำให้
รูปร่างขององค์พระเลือนไป พระเก๊ ถือว่า ทำได้ยากนะครับ
ซึ่งถือเป็นการดู จุดตาย ของพระสมเด็จ สูตรวัดระฆังทีเดียว

ส่วนที่เรียกว่า รอยย่นสังขยานั้น
อาจพบ พระสมเด็จบางองค์ ที่ด้านหลัง เมื่อดูแว่นขยาย
แล้ว จะเหมือน พื้นผิวขนมสังขยา ลักษณะเกิดจาก ผิวเปียก
ในขณะพิมพ์ อันเป็นเหตุให้ความแน่นของผิว ขาดความสม่ำเสมอ
ในส่วนผสมของมวลสาร เมื่อแห้ง จึงยุบหดตัวไม่เท่ากัน
ริ้วคลื่น จึงปรากฎคล้ายสังขยา
4. ย ที่4 พระสมเด็จวัดระฆัง ทุกองค์ ต้องมี ริ้วรอยขยุกขยิก
ไม่ว่า เส้นสายต่างๆๆ ที่ประกอบกันเป็นองค์พระ ตลอดทั้งแนวเส้น
จะไม่เป็นเส้นคมชัดสวยงาม จะต้องมีริ้วรอยธรรมชาติ ที่เป็นริ้วรอย
ขยุกขยิก

เส้นต่างๆๆเหล่านี้ ไม่ว่า เส้นซุ้ม พระเกศ วงแขนทั้ง2 ข้าง พระเพลา ตลอดจนเส้นบังคับพิม

การยึดหลัก 4 ห
1. ห แรก พระสมเด็จเมื่อดูภาพรวมแล้ว จะเห็นว่า มีสภาพธรรมชาติ แห้ง พระสมเด็จจะต้องไม่สด หรือ เปียก ชื้นแฉะ เป็นอันขาด แบบนี้ก็ไม่จำเป็นต้องไปศึกษาเรื่องพิมพ์ ให้เสียเวลา พระสมเด็จอายุ 136 ปีขึ้นไป อายุของมวลสารที่มีปูนเปลือกหอยเป็นหลัก มวลสารผงพุทธคุณทั้งหลาย ที่ทำจากดินสอพองสีขาว เกสรดอกไม้ เมื่อผสมกันเป็นเนื้อเดียวกัน ต้องเห็นสภาพแห้ง ตามอายุพระ การดูว่า สภาพแห้งธรรมชาติ สังเกตได้อย่างไร โดยดูจากพื้นผิวพระสมเด็จ จะแห้ง บางครั้งจะมีลายแตกเล็กๆๆ เต็มไปหมด และบริเวณซอก มุม พระสมเด็จ เช่นซอกรักแร้ มุมฐานพระ หรือ บริเวณตามองค์พระ และ พระสมเด็จบางองค์ ที่ผ่านการลงรักดำ จะเห็นได้ชัดเจนว่า รัก ต้องแห้งสนิท และ มีการหลุดร่อน

2. ห สอง พระสมเด็จวัดระฆังส่วนใหญ่ จะมี ผงหรือ ก้อนมวลสาร ซึ่งมีขนาดเล็ก ใหญ่ ไม่แน่นอน แม้กระทั่งรูปร่าง ก็ไม่แน่นอน แต่สีวรรณะของมวลสาร ควรมีสีขาวอมน้ำตาล ไม่ขาวใหม่ และที่สำคัญก้อนมวลสารเหล่านี้ ต้องมี ความห่างกับ เนื้อพระสมเด็จพอสมควร บางก้อนจะมีการหดตัว และ ยุบตัวเป็นหลุมเห็นได้ชัดเจน ส่วนตำแหน่งไม่แน่นอน มีให้เห็นทั้งด้านหน้าและหลังพระสมเด็จ
3. ห สาม พระสมเด็จวัดระฆัง ต้องมีคุณลักษณะพิเศษ ในเรื่องของการ ม้วนตัว หรือห่อตัวอย่างเห็นได้ชัด และ ที่จะสังเกตได้ชัดเจน เป็นบริเวณเส้นซุ้ม เส้นซุ้มจะมีลักษณะ หด ห่อตัว ม้วนตัวโค้งไปมา ไม่แน่นอน คล้ายๆเส้นขนมจีน
4. ห สี่ การศึกษา พื้นผิวบนเนื้อของพระสมเด็จวัดระฆัง จะต้องเห็น รอยเหี่ยว ริ้วรอยธรรมชาติ ถ้าไม่เห็นเลย ก็จะทำให้การพิจารณา ตัดสินใจง่ายขึ้นว่าไม่ใช่พระแท้
การยึดหลัก 4 น
1. น แรก พระสมเด็จวัดระฆัง ต้องมีคุณสมบัติ เนื้อหนึกนุ่ม ทุกองค์ มิฉะนั้นแล้วถือว่าไม่ผ่าน ตามสูตรวัดระฆัง การที่เนื้อมีความหนึกนุ่ม เนื่องจาก การใช้ปูนเปลือกหอย ผสมกับน้ำตาล หรือน้ำผึ้ง เป็นปูนเพชร และที่สำคัญ การนำกระดาษว่าวที่หลวงปู่โต ได้ลงอักขระไว้ มาผสมกับปูนเพชร ซึ่งอาจจะมีข้าวเหนียวที่ทำให้หนึกนุ่มมากขึ้น และ ที่สำคัญ คราบน้ำปูนขาวบริเวณผิวพระ เป็นตัวสำคัญเมื่อผสมกับ น้ำตาล กระดาษว่าว ทำให้พระสมเด็จวัดระฆัง มีคุณสมบัติพิเศษ คือ หนึกนุ่ม แต่มีบางนักวิชาการ กล่าวว่า ผงศิลาธิคุณ เป็นตัวประสานที่ทำให้พระสมเด็จไม่แตกง่าย และยังมีความแกร่งเพิ่มอีกรวมทั้งเพิ่มความหนึกนุ่ม ซึ่งเป็น มวลสารพิเศษ ที่ไม่มีในพระสมเด็จอื่นๆ
2. น สอง รักน้ำเกลี้ยง พระสมเด็จวัดระฆัง มักนิยมลงรักน้ำเกลี้ยง ซึ่งนิยมทาผิวพระสมเด็จ ไม่ให้เสียหายชำรุด และ จะนิยมลงรัก ปิดทอง หรือ ชาด หรือ สมุก หรือ เทือก เพื่อความสวยงาม ยิ่ง ลงรักดำ มักจะปิดทองไปด้วย การสร้างพระสมเด็จเพื่อถวาย ข้าราชบริพารในวัง เจ้านายชั้นผู้ใหญ่ หรือ ถวายพระมหากษัตริย์ เนื่องในโอกาสำคัญ เช่น การสวรรคตของรัชกาลที่ 4 หรือ การขึ้นครองราชย์ ของรัชกาลที่ 4 และ 5 มักจะมีการปิดทองไปด้วย การทารักน้ำเกลี้ยง เป็นการรักษาผิวพระสมเด็จ เมื่อรักดำหลุดร่อน ไป ก็จะคงสภาพของรักน้ำเกลี้ยงให้เห็นตามผิวพระสมเด็จจะมีสีน้ำตาลอ่อนๆ แต่บางองค์ ที่มีการลงชาด แดงจากจีน สภาพผิวพระสมเด็จ จะมีสีแดงลูกหว้าแดงอมม่วง
3. น สาม น้ำหนัก มีนักวิชาการได้แย้งข้อมูล ในเรื่องนี้กันมากมาย แม้กระทั่ง พระธรรมถาวรช่วง ศิษย์ใกล้ชิดหลวงปู่โต เคยบอกว่า พระสมเด็จแห้ง จะมีน้ำหนักเบากว่าปกติ อันนี้ เข้าใจว่า ถ้าเป็นพระสมเด็จที่ไม่ได้ถูกนำมาใช้งาน แต่เมื่อไร พระสมเด็จ ที่ผ่านการใช้งาน ห้อยคอ สภาพความชื้น เหงื่อ ก็มีโอกาสถูกดูดซับด้วยเหงื่อ มากขึ้น ทำให้ พระสมเด็จ มีความหนึกนุ่ม และ มีน้ำหนักมากขึ้น
4. น สี่ น้ำมันตั้งอิ้ว การศึกษาพระสมเด็จ วัดระฆัง ถือว่า การศึกษา สภาพของน้ำมันตั้งอิ้ว เป็นเรื่องสำคัญ และ เป็นจุดที่จะศึกษาว่า พระสมเด็จ มีสภาพอายุนานเก่าแก่ เมื่อได้เปรียบเทียบกับสภาพของน้ำมันตั้งอิ้ว ได้เลย การศึกษาสภาพธรรมชาติของน้ำมันตั้งอิ้ว เป็นเรื่องละเอียดอ่อน และเป็นประสบการณ์ของผู้ที่สะสมและศึกษาพระสมเด็จ ต้องเรียนรู้ และ ได้เห็นสภาพจริงๆ ตาต้องคมจำแม่น ด้วยสภาพธรรมชาติของพระสมเด็จ ที่ผ่านความร้อนอบอ้าวของอากาศ ประสานกับความชื้น ตลอดระยะเวลาเป็นเวลา 136 ปีขึ้นไป ย่อมมีอะไร ที่จะบ่งบอกถึงสภาพของน้ำมันตั้งอิ้ว ที่ถึงอายุ อย่างเช่น คราบน้ำมันตั้งอิ้ว รอยจั้มของน้ำมันตั้งอิ้ว หลุมบ่อของน้ำมันตั้งอิ้ว การซึมลึกของน้ำมันตั้งอิ้ว การตกผลึกของน้ำมันตั้งอิ้ว และ การไหลเยิมฉ่ำของน้ำมันตั้งอิ้ว และ สีวรรณะน้ำมันตั้งอิ้ว

การยึดหลัก 4 จ
1. จ แรก จุดดำ พระสมเด็จวัดระฆังที่มีสูตรตายตัว เนื่องจากเนื้อมวลสารหลักของพระสมเด็จวัดระฆัง เป็นเนื้อปูนเปลือกหอย ซึ่งเข้าใจว่า หลวงปู่โต ได้ นำมาจาก ลพบุรี ตอนที่ ท่าน ไปถวายผ้าป่า กราบไหว้พระพุทธบาท เป็นประจำทุกปี ปูนขาวเปลือกหอยเกิดจาการนำเปลือกหอยมาเผาด้วยไม้ฟืนที่อุณภูมิสูง ดังนั้นย่อมมีขี้เถาสีดำผสมอยู่ในปูนขาวซึ่งเป็นจุดดำ อยู่ในปูนขาวมากมาย นอกจากนี้ มีการนำใบลานลงอักขระและเขียนยันต์ มาเผา หรือแม้กระทั่งแม่พิมพ์ไม้แก่นเก่าๆนำมาเผาแล้วผสมกับปูนขาวอีกครั้ง
2. จ สอง จุดแดง เข้าใจว่าเป็นการ นำพระกำแพงซุ้มกอ หรืออิฐแดง จากเมืองกำแพงเพชร คราวที่ หลวงปู่โตได้เดินทางไปเยี่ยมโยมแม่ หรือธุดงค์ไปตามภาคเหนือ และได้นำมาบดจดละเอียดแล้วคลุกเคล้ากับปูนเพชร
3. จ สาม จุดน้ำตาล หลวงปู่โต ได้นำเกสรดอกไม้ เกสรดอกบัว เมล็ดกล้วย ว่าน108 มาเป็นมวลสารในการ สร้างพระสมเด็จเวลาส่องพระสมเด็จให้ละเอียดจะเห็นเป็นเม็ด หรือจุดสีน้ำตาลมากมาย
4. จ สี่ จุดขาว (ขาวใส/ขาวขุ่น) ในเนื้อพระสมเด็จมักจะเห็น ก้อน หรือ ผงมวลสาร สีขาวใส และ สีขาวขุ่นอมน้ำตาล ส่วนใหญ่แล้วปูนเพชร ที่ นำปูนขาวเปลือกหอยมาผสมกับน้ำตาล และโคกตำในครกซึ่ง ตำแล้วจะไม่ละเอียดนัก ก็จะเห็นเม็ดหรือก้อนสีขาวใส ซึ่งเป็นเศษเปลือกหอย ส่วนก้อนหรือผงขาวขุ่นอมน้ำตาล เข้าใจว่าเป็นผงพุทธคุณ ผงวิเศษทั้ง5 ของหลวงปู่โต ซึ่งทำจากดินสอพองจากลพบุรีเช่นกัน ที่นำมาผสมกับปูนเพชร ซึ่งก็จะมีลักษณะเป็นก้อนหรือผงเล็กๆอยู่ตามเนื้อพระสมเด็จ เมื่อระยะแรกๆจะมีสีขาวขุ่น พอระยะเวลานานเป็น 100กว่าปี สีขาวขุ่นก็จะแปรสภาพเป็น สีขาวอมน้ำตาล และ จะมีสภาพหดตัวฝังเป็นหลุมอยู่ในเนื้อพระสมเด็จอยู่ห่างๆจากเนื้อพระสมเด็จ

การยึดหลัก 4 ม
1. ม แรก ไม่กระด้าง พระสมเด็จวัดระฆังทุกองค์ ต้องมีความหนึกนุ่ม และ แห้งเหี่ยว ยุบ แยก ย่อ ย่น แต่ผิวพระต้องดูแล้วไม่ตึงและ กระด้าง บางครั้งสีวรรณะของผิวและเนื้อพระดูจืดๆ ไม่ธรรมชาติ
2. ม สอง ไม่ตัดขอบพระตรง เนื่องจากสมัยก่อน การแกะพระสมเด็จออกจากแม่พิมพ์ จะต้องมีการตัดกรอบพระสมเด็จให้สวยงามโดยการตัดด้วยไม้ตอก ดังนั้นขอบด้านข้างของพระสมเด็จทุกด้านจะไม่เรียบตรง เหมือนกับการปั้มพระสมเด็จจากโรงงาน ด้านข้างของพระสมเด็จ จะมีลักษณะไม่เรียบ มีรอยขรุขระ ไม่เรียบของมวลสาร บางครั้งจะสังเกตเห็นเป็นหลุมของเนื้อพระสมเด็จชัดเจน
3. ม สาม ไม่แตกระแหง พระสมเด็จวัดระฆังส่วนใหญ่ ต้องไม่มี การแตกระแหง แบบทุ่งนาที่แห้งเกรียมแบบนั้น การมีเส้นแตกระแหงใหญ่ ดูเหมือนการนำพระสมเด็จไปให้ความร้อน ด้วยเตาอบเป็นการเร่งให้แห้งแบบผิดธรรมชาติอย่างชัดเจน
4. ม สี่ คราบแป้งไม่ขาว อมเทา คราบแป้งถือว่า เป็นเรื่องที่ คลาสิกมาก ในการศึกษาพระสมเด็จวัดระฆัง สูตรที่น่าเป็นจุดตายเลยก็ว่าได้ ถ้าหากไม่นำพระสมเด็จอายุกว่า 136 ปี มาล้างเสียก่อน คำถามมีอยู่ว่า คราบแป้งมาจากไหน เกิดขึ้นได้อย่างไร โดยหลักการแล้ว เวลาพิมพ์พระสมเด็จตอนแรกสภาพพระจะมีเนื้อเปียก และ บริเวณผิวพระจะมีคราบน้ำปูนใสปรากฏให้เห็น เมื่อนานวันเข้า คราบดังกล่าวจะแห้งตัว แล้วกลับกลายเป็นคราบแป้ง ถึงแม้ว่าบางองค์จะไม่มีคราบปูนน้ำใสบนผิว ในกรณีเนื้อพระไม่เปียก แต่ก็จะมีการทำปฎิกิริยาทางเคมี กับ อากาศ ทำให้เกิดการคลาย คราบแป้งออกมาบนผิวพระผ่านรูเนื้อพระสมเด็จ ซึ่งพระสมเด็จจะมีรูพรุน ฟองอากาศ หรือที่เรียกว่า ตามด ให้เห็นมากมาย และจะปรากฏคราบแป้งให้เห็น เป็นรอยตามซอก ขอบพระ บางนักวิชาการ บอกว่า เป็นแป้งโรยพิมพ์บ้าง ซึ่งส่วนใหญ่ จะเห็นเฉพาะด้านหน้า โดยด้านหลังจะไม่มีการโรยแป้งโรยพิมพ์แต่อย่างไร แต่ถ้าเราได้ศึกษากันให้ถ่องแท้ พระสมเด้จวัดระฆัง ด้านหลังจะเห็นคราบแป้งได้เหมือนกัน ดังนั้น การที่บอกว่า เป็นแป้งโรยพิมพ์ อาจจะไม่ใช่ก็ได้ และ ที่สำคัญ ลักษณะคราบแป้ง หรือ บางครั้งเรียกว่า คราบแคลเซียม จะมีสีไม่ขาวเลยทีเดียว จะออกสีขาวอมเทาซะส่วนใหญ่ ถ้าพระสมเด็จองค์ไหน เห็นเป็นแป้งขาวๆๆจำนวนมากๆๆ น่าจะผิดปกติ ไม่ธรรมชาติ ถือว่า ตีเป็นพระเก๊ได้เลย และ คราบแป้งจะต้องเกาะติดบนผิวค่อนข้างแน่น ขูดลอกออกค่อนข้างยาก

การให้คะแนน พระสมเด้จวัดระฆัง 5 ข้อใหญ่ 4 ข้อย่อย รวม 20 ข้อ ให้ คะแนน ข้อละ 5 คะแนน รวม 100 คะแนน จะทำให้การศึกษา พระสมเด็จ ทางวิทยาศาสตร์ จะได้มีความน่าเชื่อถือมากขึ้น
เขียนโดย chatree50 ที่ 9:40




   
  


ราคา: 2,555,000ต้องการ: ให้เช่า
ติดต่อ: คุณทายาท มานะเสริมวงศ์อีเมล์: 
โทรศัพย์: 034-324-972IP Address: 182.52.160.172
มือถือ: 086-900-2201 จังหวัด: นครปฐม

คำค้น:  พระสมเด็จวัดระฆัง | พิมพ์ฐานแซม | แตกลายงา | เกียรติบัตรับรอง | เนื้อหามวลสารเก่าแก่ได้อายุ | วิธีดูการตัดขอบพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ฐานแซม | พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ฐานแซมคราบน้ำอ้อยฉ่ำ | พระสมเด็จวัดระฆังชนิดของคราบน้ำอ้อยฉ่ำ | พระสมเด็จบางขุนพรหมพิมพ์ฐานแซมคราบน้ำอ้อยฉ่ำ | ตำหนิพระสมเด็จบางขุนพรหม พิมพ์ฐานคู่ กรุใหม่ |



ดูสินค้าอื่นๆ | ลงประกาศ | เลื่อนประกาศขึ้น | ลบประกาศ | แก้ไขประกาศ

[ รับจำนอง ขายฝาก บ้าน ที่ดิน ทั่วประเทศ กู้เงินง่าย ได้เงินไว ไม่เช็คแบล็คลิส ]





ประกาศอื่นๆในหมวดหมู่เดียวกัน 20 รายการ (แสดงทั้งหมด)

รูป   รายละเอียด ราคา
  1,000 บาท
  2,600 บาท
  1000-2700
  700 บาท
  359 บาท
  -
  -
  290 บาท
  359 บาท
  380 บาท
  1,400 บาท
 
  2,200 บาท
  1,500 บาท
  2,050 บาท
  2,500 บาท
  6,000 บาท
  9x,xxx.-
  8 บาท
  1,500 บาท